วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

เรือนไทยภาคใต้

เรือนไทยภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือนไทยภาคใต้ ที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับ เรือนก่ออิฐฉาบปูน โดยเอกลักษณ์ของเรือนภาคใต้อยู่ที่หลังคาเรือนและ เสาเรือนจะเป็นเสาไม้ตั้งบนฐานคอนกรีตเหตุเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดพายุไต้ฝุ่น พายุฝน ลมแรงเสมอ จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลักษณะเรือนไทยเป็นเรือนยกพื้นสูง แต่ว่าไม่สูงจนเกินไป พอที่จะเดินลอดได้
เรือนไทยภาคใต้ แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ แถบชายทะเลด้านใน คือ ชายทะเลฝั่งตะวันออกซึ่งติดกับอ่าวไทย และแถบชายทะเลด้านนอก คือ ชายทะเลฝั่งตะวันตกซึ่งติดกับทะเลอันดามัน โดยที่พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกด้านอ่าวไทยเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากกว่าฝั่งตะวันตก บ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก มักเป็นเรือนหลังคาหน้าจั่วทรงสูงแบบเรือนไทยภาคกลาง แต่ไม่นิยมทำปั้นลมและตัวเหงา

ลักษณะทั่วไปของเรือนไทยในภาคใต้[แก้]

เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสา ตอนล่างห่างจากพื้นดิน ประมาณ 1- 2 ฟุตจะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของเรือนทั้ง 3 แถวเพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างของเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น
ตัวเรือนกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน กั้นห้องสำหรับเป็นห้องนอน 1 ห้อง อีกห้องหนึ่งปล่อยโล่ง ด้านหน้าบ้านมีระเบียงด้านข้าง เรือนเครื่องสับในภาคใต้จะทำช่องหน้าต่างแคบ ๆ หลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับเรือนไทย ภาคกลางแต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อย ติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลา ไม่นิยมทำตัวเหงา

หลังคา[แก้]

หลังคาเรือนไทยภาคใต้มี 3 ลักษณะคือ
  • หลังคาจั่ว
ในชุมชนที่ประกอบอาชีพกสิกรรมและประมงจะปลูกสร้างเรือนหลังคาทรงจั่ว ไม่มีการตกแต่งหน้าจั่ว วัสดุมุงหลังคาส่วนใหญ่ใช้จาก แต่บางเรือนที่มีฐานะดีจะ มุงกระเบื้องเพื่อความมั่นคงแข็งแรง ความลาดชันของหลังคาขึ้นอยู่กับวัสดุมุง หลังคาในท้องถิ่นนั้นว่าจะใช้กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องขนมเปียกปูนหรือมุง แฝกจากเรือนเครื่องผูกหลังคาทรงจั่วปลูกสร้างง่ายด้วยตนเอง โยกย้ายได้ง่ายวัสดุ หาง่าย ส่วนเรือนเครื่องสับ สำหรับผู้มีฐานะดีหลังคาจั่วเป็นรูปตรงทรงไม่สูงตกแต่งหน้าจั่วยอด จั่วมุงนั้นด้วยกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมเชิงชาย และช่องลมใต้เพดานแต่งด้วยไม้ฉลุสวยงาม ตัวเรือนใต้ถุนยกสูงมีระเบียงและนอกชานลดหลั่นกัน
  • หลังคาปั้นหยา
มีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาเป็นพิเศษหลังคาตรงหัวท้ายเป็นรูปลาด เอียงแบบตัดเหลี่ยมหลังคามุงกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยม ตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคา ครอบด้วยกันน้ำฝนรั่ว หลังคาแบบนี้โครงหลังคาแข็งแรงมากสามารถทนรับ ฝนและต้านแรงลม หรือพายุไต้ฝุ่นได้ดีมาก ส่วนใหญ่อยู่ทางจังหวัดสงขลา
  • หลังคามนิลา หรือ หลังคาบรานอร์
หรือแบบรานอร์เป็นการผสมผสานหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยาคือส่วนหน้าจั่ว ค่อนข้างเตี้ยจะเป็นจั่วส่วนบนส่วนล่างของจั่วจะเป็นหลังคาลาดเอียงลงมารับกับ หลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอดเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง เรือนแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดปัตตานี
โดยส่วนมากจะเป็นบ้านที่มีหลังคาแบบมนิลาหรือบรานอร์ และเพิ่มเติมลายไม้กลมฉลุไม้ที่ส่วนยอดซึ่งพบมากในชุมชนชาว ไทยมุสลิมหลังคาทั้ง 4 แบบ มีอยู่ทั่วไปแต่สัดส่วนของหลังคาจะมีทรงสูงต่ำอย่างไรขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างและวัสดุมุงหลังคาในท้องถิ่นนั้น เช่น ถ้าใช้กระเบื้องดินเผา หรือใช้ กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ มุงแฝกความลาดชันของหลังคาจะไม่เท่ากัน

เรือน ไทย ภาค อีสาน


เรือนไทยภาคอีสาน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



เรือนไทยภาคอีสาน
เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการ ปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

  • ลักษณะชั่วคราว
สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ ได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย

  • ลักษณะกึ่งถาวร
คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก " เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้ เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี " ตูบต่อเล้า " ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็น เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง จะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน

  • ลักษณะถาวร
เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ เรือน เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน ข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้หลังคาเรือนทำเป็นทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลางมุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของอาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง

เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน[แก้]


  • ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
  • ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไปเหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่ากาแล
  • ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอหม้อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุ
ที่ชาวไทยภาคอีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอหม้อ

องค์ประกอบของเรือนไทยภาคอีสาน[แก้]


เรือนนอนใหญ่ จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า "เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
    • ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง
    • ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือปล่อยโล่ง
    • ห้องนอนลูกสาว หรือเรียกว่า ห้องส่วม มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้
ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯล

  • เกย คือบริเวณชานโล่งที่มีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก หรือที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ อาจไว้ใช้เป็นที่เก็บฟืน

  •  
  • เรือนแฝด 
  • เป็นเรือนทรงจั่วแฝด เช่นเดียวกับเรือนนอน โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝากไว้กับเรือนนอน แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก

  • เรือนโข่ง
  •  มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยก ออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน การต่อเชื่อมของชายคาทั้งสองหลังใช้รางน้ำ โดยใช้ไม้กระดาน 2 แผ่น ต่อกันเป็นรูปตัววีแล้วอุดด้วยชันผสมขี้เลื่อย ในกรณีที่เรือนไม่มีครัวก็สามารถใช้พื้นที่ส่วนเรือนโข่งนี้ทำครัว ชั่วคราวได้
  • เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด

  • ชานแดด

  • เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี "ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน" ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ
  • เสาแฮก (แรก) เสาขวัญ จะยึดเสาคู่ในทางตะวันออก เสาแฮกจะอยู่ด้านในซึ่งเป็นด้านขยายตัวเรือนออกเป็น เฉลียง ชาน ถ้ากรณีหันหัวนอนไปทางทิศใต้ตำแหน่งเสาแฮก-เสาขวัญจะสลับกันกับเสาลักษณะแรก การเลือกเสาคู่นี้ต้องเลือกเสาที่ดี วิธีผูกเสาแฮก-เสาขวัญ การผูกเสาจะใช้สิ่งที่เป็นมงคลและที่มีความหมายเป็นศรีแก่เรือนและผู้อยู่ อาศัยให้มีความเป็นสิริมงคลเช่น ใบยอ ใบคูน ยอดอ้อย กล้วย ไซใส่เงิน-ทอง อัก (เครื่องมือสำหรับเก็บด้ายทอผ้า)